ไพ่นกกระจอก ออนไลน์ -วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าวอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.


“ข้าว” เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย USDA ระบุว่าในปี 2567 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 66 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 48 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซังและฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้น เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในรอบถัดไป ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องจัดการวัสดุเหลือใช้โดยวิธีการเผาตอซังและฟางข้าว เป็นวิธีจัดการที่สะดวกและง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย แต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศ โดยก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้น ทำให้เกิดการระคายเคือง และในระยะยาวก่อให้เกิดมะเร็งหรือโรคทางเดินหายใจ


อีกแนวทางหนึ่งในการจัดการตอซังและฟางข้าวคือการไถกลบ จัดเป็นวิธีการทางชีวภาพที่ย่อยสลายตอซังและฟางข้าวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งเป็นการช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้น้ำซึมผ่านได้ในปริมาณที่เหมาะสม นำไปสู่การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารให้แก่พืช แต่อาจใช้ระยะเวลานานในการหมักก่อนการเพาะปลูกข้าวในรอบถัดไป ทำให้ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์สำหรับย่อยสลายซากพืชโดยเฉพาะตอซังข้าวในหลากหลายรูปแบบ อาทิ สารปรับปรุงดิน สารชีวภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้งานได้สะดวก ย่นระยะเวลาในการหมัก และมีประสิทธิภาพดีตรงตามความต้องการของเกษตรกร แต่ก็มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 100-150 บาทต่อไร่ต่อรอบการทำนา

ดังนั้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาและนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี เพื่อทำการศึกษาและพัฒนากลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซังข้าวอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดกิจกรรมการเผาตอซังข้าวของเกษตรกร

ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว วว. โดย ห้องปฏิบัติการทดสอบการการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ (BioD) ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการทางชีวภาพ (Bioremediation) ด้วยวิธีการเติมกลุ่มจุลินทรีย์ลงในพื้นที่เป้าหมาย (Bioaugmentation) ทั้งนี้ วว. สามารถคัดแยกได้กลุ่มจุลินทรีย์ “BioD I วว.” ที่มีประสิทธิภาพเฉพาะสำหรับย่อยสลายตอซังข้าว รวมถึงการออกแบบชุดบ่มเลี้ยงฯ ที่มีระบบให้อากาศและระบบควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ สามารถผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ฯ “BioD I วว.” ได้อย่างต่อเนื่อง นำไปใช้ตามความสะดวกและทรัพยากรที่มีอยู่ในมือของเกษตรกร เช่น ใช้โดรนในการฉีดพ่น ใช้คนฉีดพ่น หรือปล่อยไปกับน้ำเข้านา หลังจากหมักไว้ประมาณ 5-10 วัน ทำให้ตอซังและฟางข้าวนิ่ม ไถกลบได้ง่าย เพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลักในดิน และเป็นมิตรต่อระบบนิเวศ โดยลักษณะของน้ำในแปลงนาที่หมักด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ “BioD I วว.” จะมีสีน้ำตาล ไม่มีกลิ่นเหม็น โดยรวมจะใช้เวลาน้อยกว่าการขังน้ำหมักฟาง ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเริ่มการทำนาได้เร็วขึ้นจากเดิม


จากผลสำเร็จของการพัฒนากลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว “BioD I วว.” และการออกแบบชุดบ่มเลี้ยงฯ ของ วว. นำไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยบริษัท อาปิโก ฟอร์จจิ้ง จำกัด (มหาชน) สนับสนุนงบประมาณแก่ วว. ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านการเกษตรของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อดำเนินโครงการ “ชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว” และ วว. ยังได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานีในการประสานงานกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เพื่อต่อยอดขยายผลงานนวัตกรรมนี้ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างและมีความยั่งยืน
โดยการดำเนินงานภายใต้โครงการฯ นี้ วว. ได้จัดสร้างและประเมินประสิทธิภาพการใช้งานชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อ “BioD I วว.” ที่ติดตั้ง ณ วิสาหกิจชุมชนทั้ง 7 อำเภอ ได้แก่
1) ศูนย์ข้าวชุมชน หมู่ 1 ต.บึงบา อ.หนองเสือ
2) ข้าวกล้อง ต.สวนพริกไทย อ.เมือง
3) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว
4) เกษตรใบเขียว ต.บึงคอไห อ.ลำลูกกา
5) นาแปลงใหญ่ข้าวคลองสี่ อ.คลองหลวง
6) ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสวนพันธุ์ผัก ต.คลองควาย อ.สามโคก
7) เครือข่ายศูนย์จัดการพืชชุมชน ต.บ้านปทุม อ.สามโคก
8) กลุ่มนาแปลงใหญ่ ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี


ณ ปัจจุบัน มีกลุ่มเกษตรกรมากกว่า 70 ราย นำหัวเชื้อ “BioD I วว.” ไปใช้งานในพื้นที่แปลงนาแล้วประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อ“BioD I วว.” นี้สามารถรักษาประสิทธิภาพของหัวเชื้อได้อย่างต่อเนื่อง จึงสะดวกต่อการใช้งานและการบำรุงรักษา คาดการณ์ว่าสามารถรองรับการทำนาปรังได้ไม่ต่ำกว่า 168,000 ไร่ต่อปี นอกจากนี้ ภายใต้การดำเนินงานโครงการฯ วว. ยังจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและออกพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการให้กับเจ้าหน้าที่เกษตรและกลุ่มเกษตรกรไปแล้วมากกว่า 1,000 ราย เพื่อให้สามารถใช้งานและดูแลรักษาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อฯ อย่างถูกต้อง รวมถึงส่งเสริมองค์ความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบเชิงบวกที่จะได้รับทั้งทางด้านลดต้นทุนการผลิต ความปลอดภัยต่อสุขภาพของชุมชน และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน








วว. คาดการณ์ว่า การใช้หัวเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว “BioD I วว.” จะทำให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวลงได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และปรับเปลี่ยนกลุ่มเกษตรกรที่เคยเผาตอซังข้าวก่อนไถกลบให้มาใช้กลุ่มจุลินทรีย์คัดเลือกเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวแทนได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
……………………………
📍นำเสนอข่าวโดย กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว.
☎️ โทร. 0 2577 9048
📧 E-mail : [email protected]
🟩 Line@tistr
🟧 IG : tistr_ig
🟥 YouTube : tistr2506
🟪 TIKTOK : @tistr2506